โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์! ทำไมคนญี่ปุ่นถึงให้ความสำคัญนักหนา??

โดย Admin_ChoiceChecker03 23/02/2024

 

ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์เป็นส่วนสำคัญของอาหารประจำวันและมีบทบาทในการดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างยิ่ง

ความสนใจในโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ในญี่ปุ่นเริ่มต้นจากการเชื่อมโยงระหว่างอาหารที่มีชีวิตและสุขภาพที่ดี ซึ่งเป็นความเชื่อที่มีมายาวนานในวัฒนธรรมญี่ปุ่น วันนี้ชอยซ์จะมาไขข้อข้องใจทำไมคนญี่ปุ่นถึงให้ความสำคัญกับโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์นัก

 

ทางลัดไปอ่านหัวข้อที่สนใจกันเลย

 


 

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์อีกสักครั้ง

 

โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์

 

โพรไบโอติกส์ คืออะไร?

โพรไบโอติกส์ คือ จุลินทรีย์ชนิดดีมีชีวิตและมีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหารและสุขภาพโดยรวม เช่น แลคโตบาซิลลัส ที่พบในเต้าหู้เหม็น (Natto) หรือโยเกิร์ต ซึ่งพวกมันช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ส่งผลดีต่อการย่อยอาหารและระบบภูมิคุ้มกัน

 

พรีไบโอติกส์ คืออะไร?

พรีไบโอติกส์ คือ สารอาหารที่ช่วยเลี้ยงจุลินทรีย์เหล่านี้ในลำไส้ เช่น ใยอาหารที่พบในผักและผลไม้

 

สาเหตุที่คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์มีดังนี้

 

สาเหตุที่คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์มีดังนี้

 

  1. วัฒนธรรมการกิน : อาหารญี่ปุ่นมีการใช้วัตถุดิบที่หลากหลายซึ่งมีโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ เช่น มิโสะ นัตโตะ และกิมจิ ซึ่งทำให้เป็นส่วนหนึ่งของอาหารประจำวัน

  2. การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ : ญี่ปุ่นมีการวิจัยอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ พบว่ามีผลดีต่อสุขภาพหลายด้าน เช่น การเพิ่มภูมิคุ้มกัน  ลดความเสี่ยงของโรคทางเดินอาหาร เพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ป้องกันโรคอ้วน ส่งเสริมการมีสุขภาพจิตที่ดี เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น

  • การศึกษาเกี่ยวกับ Lactobacillus casei Shirota (Yakult) ซึ่งเป็นสายพันธุ์โพรไบโอติกส์ที่พบในเครื่องดื่มยาคูล (Yakult) พบว่าการทานโพรไบโอติกส์สายพันธุ์นี้อย่างต่อเนื่องสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและลดอาการของโรคทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูกและท้องเสียได้
  1. การปลูกฝังเรื่องการมีสุขภาพดีและชีวิตยืนยาว : วัฒนธรรมญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นในการดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อที่จะมีคุณภาพชวิตที่ดี และสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่เดือดร้อนผู้อื่น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ถูกปลูกฝั่งจากรุ่นสู่รุ่น

 

รวม 3 อาหารเสริมโพรไบโอติกส์ พรีไบโอติกส์ คุณภาพดี

 

BRAND'S® InnerShine PROBIO, Probilac โปรบิแล็ค,  Biocap Probiotics

 

BRAND'S® InnerShine PROBIO:

  • โพรไบโอติกส์: ประกอบด้วย Bacillus coagulans และ Lactobacillus acidophilus ที่ช่วยรักษาสมดุลของระบบทางเดินอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปริมาณโพรไบโอติก: มีไม่ต่ำกว่า 500 ล้าน CFU ต่อซอง
  • ชนิดพรีไบโอติกส์: ไซโล-โอลิโกแซ็กคาไรด์ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดีในลำไส้ ช่วยให้จุลินทรีย์เติบโตได้ดี และรีซิสแทนท์ มอลโทเดกซ์ทรินซึ่งใยอาหารที่ช่วยเพิ่มกากในระบบทางเดินอาหารและกระตุ้นการขับถ่าย
  • รูปแบบผลิตภัณฑ์: แบบผง ผสมกับเครื่องดื่ม

ทางไปช้อป

 

Probilac โปรบิแล็ค: โปรไบโอติกและอินูลินสำหรับการย่อยอาหารที่สมดุล

  • โพรไบโอติกส์: ประกอบด้วย LGG และ BB-12 ที่มีผลงานวิจัยสนับสนุนและช่วยในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
  • ปริมาณโพรไบโอติก: 2,000 ล้านตัวต่อซอง
  • ชนิดพรีไบโอติกส์: อินูลินเป็นพรีไบโอติกอาหารของโพรไบโอติก ช่วยให้โพรไบโอติกทำงานได้ดียิ่งขึ้น
  • รูปแบบผลิตภัณฑ์: แบบผง ผสมกับเครื่องดื่ม

ทางไปช้อป

 

Biocap Probiotics: ส่งเสริมสุขภาพด้วยโปรไบโอติก 10 สายพันธุ์

  • โพรไบโอติกส์: ประกอบด้วย10 สายพันธุ์ บาซิลลัส โคแอกกูแลน, แล็กโทบาซิลลัส พาราคาเซอิ, แล็กโทบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส, และอื่นๆ สนับสนุนสุขภาพระบบย่อยอาหารและลำไส้
  • ปริมาณโพรไบโอติก: 750 ล้าน CFU ต่อเม็ด
  • ชนิดพรีไบโอติกส์: Inulin, FOS, และ GOS ซึ่งช่วยส่งเสริมการเติบโตของโปรไบโอติกในลำไส้
  • รูปแบบผลิตภัณฑ์: แบบแคปซูล

ทางไปช้อป 

 

👩‍⚕️คอนเทนต์นี้จัดทำโดยเภสัชกรวิชาชีพประจำ ChoiceChecker👩‍⚕️


 

Reference

  • Sgouras, D., Maragkoudakis, P., Petraki, K., Martinez-Gonzalez, B., Eriotou, E., Michopoulos, S., Kalantzopoulos, G., Tsakalidou, E., & Mentis, Α. (2004). In Vitro and In Vivo Inhibition of Helicobacter pylori by Lactobacillus casei Strain Shirota. Applied and Environmental Microbiology, 70(1), 518-526.
  • Barrett, J., Canale, K., Gearry, R., Irving, P., & Gibson, P. (2008). Probiotic effects on intestinal fermentation patterns in patients with irritable bowel syndrome. World Journal of Gastroenterology, 14(32), 5020-5024.
  • Chorley, S. (2014). Immunomodulatory effects of Lactobacillus casei Shirota. The Plymouth Student Scientist, 7(1), 149-158.

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความคิดเห็น


ข้อมูลดีมากๆค่ะ
26/02/2024 13:33
ข้อมูลดีและมีประโยชน์มากเลยค่ะ
25/02/2024 23:10