รีวิวยาคูลท์ญี่ปุ่นออกใหม่ที่ญี่ปุ่น!! ช่วยเสริมคุณภาพการนอนได้ด้วย หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการกินยาคูลท์แค่ตอนท้องผูก แต่เดี๋ยวนี้ยาคูลท์เค้าออกสูตรใหม่ช่วยให้หลับลึกขึ้น ตื่นมาสดใสไม่ง่วง น่าโดนมากอ่ะบอกเลย
ก่อนอื่นเรามาเข้าใจกันก่อนว่าการนอนมันสำคัญกับเรายังไงบ้าง? แล้วถ้านอนไม่ดีจะเกิดผลอะไรกับร่างกายเรา
เลือกทางลัดไปอ่านหัวข้อที่สนใจกันเลย
ถ้าหัวถึงหมอนแล้วยังกระสับการส่าย นอนยาก หลับๆตื่นๆ ไม่เคยรู้สึกว่าหลับสนิท ปัญหาแบบนี้เค้าเรียกรวมๆว่า ‘อาการนอนไม่หลับ’ ใครไม่เคยเจอเอง ไม่มีทางเข้าใจความทรมาน…ก่อนหน้าวันสำคัญๆทีไร คืนนั้นนอนไม่หลับทู้กกกที! แทนที่จะตื่นมาเฟรชในวันที่รอคอย กลายเป็นเหมือนวันชง งัวเงียไม่แอคทีฟ
มันแย่มากค่ะคุณ ประสิทธิภาพลดลงทุกด้าน! ความจำแย่ลง การซ่อมแซมตัวเองของร่างกายแย่ เสี่ยงเป็นโรคอ้วน ผิวแห้งหยาบ และอีกสารพัดโรคร้ายเข้าคิวมาหากันไวขึ้น ยิ่งแก่มีแต่แย่ลง อย่าปล่อยไว้นานค่ะ
แล้วแบบไหนถึงเรียกว่าการนอนที่ดี? ต้องนอนเยอะๆ นอนเร็วแต่หัวค่ำแบบที่ทุกคนเข้าใจกันรึเปล่า??
1 ปริมาณการนอนที่เหมาะสม : นอนมากเกินไปก็ใช่ว่าจะดี แต่นอนน้อยไปก็ไม่พอ The National Sleep Foundation เค้าทำวิจัยและแนะนำปริมาณการนอนที่เหมาะสมตามช่วงอายุมาให้เข้าใจง่ายมากๆ หรือสรุปง่ายๆ วัยทำงานแบบพวกเรายังไงก็ควรนอนให้ได้ 7 - 9 ชั่วโมงนะคะ
2 คุณภาพการนอนต้องได้ : หัวถึงหมอน หลับตาปี๋ แต่ตัวยังกลิ้งไปกลิ้งมาบนเตียง หรือกับคนที่มีอาการภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนด้วยแล้ว ไม่ได้นับว่าเป็นการนอนนะจ๊ะ
การนอนที่มีคุณภาพหมายถึง ‘การหลับสนิท’ …แล้วนอนฝันเห็นเลขเด็ดนี่เรียกว่าหลับสนิทไหม?
นอนหลับสนิทจะประกอบด้วย ช่วงที่ฝันและไม่ฝัน ในการนอนแต่ละคืนต้องมีอย่างน้อย 20% เป็นช่วงหลับลึก แทบจะไม่รู้สึกตัวต่อให้มีสิ่งกระตุ้น โดนแฟนสะกิดก็หลับปุ๋ยไม่รู้เรื่อง ถ้านอนได้แบบนี้ตอนตื่นขึ้นมาจะรู้สึกสดชื่น ไม่งัวเงียจ้า
3 จังหวะการนอนต้องมี : ในตัวเรามี ‘นาฬิกาชีวิต’ นาฬิกาชีวิตจะเชื่อมโยงกับช่วงเวลาที่เรารับแสงแดด
ช่วงเช้า - แดดส่องจนตื่น ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน orexin ให้ความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า
ช่วงมืด - แสงอาทิตย์หายไป ร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน เป็นการเตรียมความพร้อมไปสู่โหมดง่วง
แต่...แสงสีฟ้าจากจอมือถือ เป็นตัวกระตุ้นให้ orexin ทำงานและลดการทำงานของเมลาโทนินลง!
นี่ล่ะสาเหตุที่ไม่ควรเล่นมือถือก่อนนอน มันจะทำให้นอนหลับยากขึ้น ถ้านาฬิกาชีวิตพังขึ้นมาร้านนาฬิกาก็ไม่รับซ่อมนะ~
อย่างที่บอกว่า ที่ญี่ปุ่นเค้ามียาคูลท์สูตรพิเศษ ที่ไม่ได้แค่ช่วยให้ขับถ่ายลื่นปรื๊ดดด ยังช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนได้ด้วย!
ถ้าซูมดูในลำไส้ของเรา มีจุลินทรีย์มากกว่า 1,000 ชนิด รวมๆกันหลายหมื่นล้านตัวอาศัยอยู่ คิดเป็นน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัมของน้ำหนักตัวเรา ในจุลินทรีย์เหล่านี้ก็จะมีจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีประโยชน์อาศัยอยู่ด้วย (ภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า นิวซานคิง「乳酸菌」) ยาคูลท์ นมหมักที่เราเรียกชื่อแบรนด์ Yakult กันจนติดปาก หมักจากแบคทีเรียชนิดดีที่ชื่อ Lacticaseibacillus Casei / Paracasei ประมาณ 30,000 ล้านตัว! เยอะกว่าสูตรทั่วไปในบ้านเราที่มีประมาณ 8,000 ล้านตัว ดื่มเครื่องดื่มที่มีเจ้าตัวจิ๋วพวกนี้จะช่วยปรับสมดุลลำไส้ ให้ระบบย่อย-ระบบขับถ่ายทำงานได้ปกติ ฟังดูเหมือนง่าย แต่มันยากมากค่ะกว่าจะส่งแบคทีเรียดีๆซักตัวเข้าไปได้! ต้องผ่านด่านกรดในน้ำย่อยที่กระเพราะอาหาร และด่านอื่นๆ กองทัพแบคทีเรียหลายหมื่นล้านตัวโดนทำลายก่อนจะถึงลำไส้ซะอีก! ทางยาคูลท์เค้าวิจัยและพัฒนาร่วมกับแลปต่างๆ จนเจอว่าเจ้าแบคทีเรียชนิดดี Lacticaseibacillus casei / paracasei พวกนี้ทนเป็นพิเศษ! ****ทนน้ำย่อย ทนกรด ไม่โดนทำลายง่ายๆ ทะลุทะลวงเข้าไปถึงลำไส้แล้วทำงานปรับสมดุลแบบที่เราต้องการได้~ ยาคูลท์สูตรใหม่ Yakult 1000 กับ Y1000 ก็เลยจัดเต็มแบคทีเรียดีเข้มข้นสูงงงจนดูเหมือนเว่อร์ ต้องบอกว่าเจ๊มิ้นต์เชื่อนะ ที่ญี่ปุ่นนี่เข้มงวดเรื่องอาหารมากๆๆๆ จะใส่อะไร เท่าไร ต้องให้สถาบันกลางตรวจก่อนเสมอ* คุณภาพไม่ถึงก็ตีกลับหมดไม่มีเด็กเส้น ยาคูลท์ก็โดนตรวจยับ
วิธีดื่ม : ดื่มวันละ 1 ขวด ประมาณ 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน
รสชาติ : อร่อยเหมือนเดิม หวานกำลังพอดี อมเปรี้ยวนิดๆ ดื่มง่าย ลื่นคอ
สรุปดื่ม Yakult 1000 นี่ดียังไง?
👩⚕️คอนเทนต์นี้จัดทำโดยเภสัชกรวิชาชีพประจำ ChoiceChecker👩⚕️
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
■ National Sleep Foundation's sleep time duration recommendations
■ https://www.e-healthnet.mhlw.go.jp/information/heart/k-01-004.html
■ https://www.daiichisankyo-hc.co.jp/health/selfcare/goodsleep-01/
■ Journal of Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry 2020; 14(2) : SLEEP AND SLEEP HYGIENE: REVIEW ARTICLE
■ สถาบันวิเคราะห์อาหารของญี่ปุ่น
ความคิดเห็น