สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ดีกว่า น้ำตาลปกติ จริงเหรอ?

โดย เภสัชกรประจำ choicechecker 12/03/2021

 

อยากดื่มน้ำอะไรหวานๆแต่กลัวอ้วน อยากลองใช้ #สารให้ความหวานแทนน้ำตาล แคลอรี่ก็ต่ำ พลังงานไม่มีก็คือ 0% เลย ...กินแบบนี้ดีกว่าน้ำตาลปกติจริงมั้ย? ไม่อ้วนจริงป่ะ? สารพวกนี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เลือกใช้ให้ถูกแล้วเราจะได้กินของหวานอร่อยเท่าเดิม เพิ่มเติมคือเฮลท์ตี้ขึ้น~

 

สารให้ความหวาน

 

Q: ปลอดภัยมั้ยถ้าจะกินน้ำตาลเทียมแทนน้ำตาลจริงๆ?

A: หน่วยงานนานาชาติเค้าทดสอบสารให้ความหวานแทนน้ำตาลมาแล้วคอนเฟิร์มว่า ปลอดภัยค่ะ กินได้ในปริมาณที่แนะนำ ก็ไม่ได้บอกว่าดีกว่าน้ำตาลปกตินะ แต่ถ้าจะกินแทนน้ำตาลนี่ก็เป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าสารให้ความหวานมีหลายชนิด บางตัวมีผลข้างเคียงที่นักวิจัยเค้าก็ยังเถียงกันไม่จบ เช่น แอสปาแตม แต่บางตัวก็เซฟมากๆ มันขึ้นอยู่กับว่าคุณกินเยอะเท่าไหร่ กินไปนานแค่ไหน ต่อให้เป็นน้ำเปล่าถ้าดื่มเยอะมากๆนานๆ มันก็เกิดผลเสียได้ทั้งนั้นค่ะ

 

Q: ช่วยลดความอ้วนได้รึเปล่า?

A: ถ้าลดความอ้วนอยู่หรือคนที่เป็นเบาหวานก็ยังทานสารให้ความหวานพวกนี้ได้ค่ะ แต่ไม่ได้บอกว่ากินเท่าไหร่ก็ได้น้า สมมติ ดื่มน้ำอัดลมสูตรไม่มีน้ำตาล ไม่มีแคลอรี่ ไม่อ้วนก็จริง แต่สิ่งที่แถมมาคือผลเสียจากสารปรุงแต่งอื่นๆ... กรดฟอสฟอริกที่กัดกร่อนกระดูกพรุน ฟันผุ ฟันเหลือง คาเฟอีนที่ทำให้ใจสั่น

 

Q: เคยได้ยินว่า ‘ยิ่งกินยิ่งทำให้เสพติดรสหวาน’

A: ถูกต้องค่ะ ลองคิดตามหลักทั่วไปการกินรสชาติเดิมๆซ้ำๆมันทำให้ติดเป็นนิสัยอยู่แล้ว สารให้ความหวานเองก็ไม่มีแคลอรี่ ยิ่งกินยิ่งชินกับการกินหวาน ตอนอยู่ในบ้านเราคุมอาหารกินหวานเทียมได้ แต่พอออกไปข้างนอกถ้าหากินยาก ก็เป็นไปได้ที่เราจะยอมกินอาหารที่ใช้น้ำตาลปกติ ทำให้ได้รับน้ำตาลทางอ้อม แต่ทุกอย่างควบคุมได้ขึ้นอยู่กับตัวเราเองนั่นแหละ

 

Q: สารพวกนี้ทำให้ค่าอินซูลินขึ้นหรอ? 

A: ทำความเข้าใจเรื่องอินซูลินก่อนว่า อินซูลินในร่างกายเราขึ้น-ลงเป็นปกติอยู่แล้ว เรากินข้าว กินโปรตีนอินซูลินมันก็ขึ้นค่ะ มีสารให้ความหวานบางชนิดที่ช่วยคุมค่าอินซูลินได้ด้วยซ้ำ ไม่ทำให้ค่าน้ำตาลในเลือดพุ่งพรวดพราด แถมยังไม่มีผลกับค่าไขมันในเลือดด้วย

 

Q: น้ำตาลเทียมช่วยป้องกันฟันผุได้ยังไง?

A: สารให้ความหวานบางชนิดทำให้ฟันผุได้เหมือนน้ำตาลทั่วไป แต่มีบางกลุ่มที่ช่วยลดความเสี่ยงของฟันผุได้ เช่น Erythritol และ Xylitol มันจะไปรบกวนการเติบโตของแบคทีเรีย (อย่าลืมเรื่องสารเสริมอื่นๆในสิ่งที่คุณกินว่ามันอาจจะทำให้ฟันผุได้เหมือนกันนะคะ)

 

สารให้ความหวาน

 

■ สารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ได้ยินบ่อยๆ

 

น้ำตาลหญ้าหวาน (Stevia)

สกัดจากพืชธรรมชาติ หวานกว่าน้ำตาลทราย 200-300%

0% Calorie | 0% GI Index | ไม่ให้พลังงาน ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

ระดับ ADI 4 มก./กก./วัน

ปลอดภัยสูง ทนความร้อนได้ จะใส่ในเครื่องดื่มหรือทำอาหารก็ได้ แต่ไม่ค่อยเหมาะกับการอบขนมเพราะอาจจะมีกลิ่นของหญ้าหวานและทำให้ขนมขึ้นฟูไม่ค่อยดี

แบรนด์ที่ขาย : Equal รุ่น Stevia, Estevia, Kontrol, Pur Via, Sweet F ของ Green Sweet

 

อิริทริทอล (Erythritol)

สกัดจากพืชธรรมชาติ หวานกว่าน้ำตาลทราย 70%

ให้พลังงาน 0.24 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม หรือ 6% ของน้ำตาลปกติ | 1% GI Index | ไม่ให้พลังงาน ไม่ทำให้มีการหลั่งอินซูลินเร็ว ไม่มีผลเพิ่มไขมันในเลือด

ระดับ ADI ไม่ได้ระบุ

ปลอดภัยสูง รสชาติเหมือนน้ำตาลทรายแต่หวานน้อยกว่า

แบรนด์ที่ขาย : Equal รุ่น Stevia

 

แอสปาแตม (Aspartame)

เป็นสารสังเคราะห์ หวานกว่าน้ำตาลทราย 200-300%

ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม (เท่ากับน้ำตาลทราย) | 0% GI Index

ระดับ ADI 50 มก./กก./วัน

ใช้ในเครื่องดื่มเย็นได้ แต่ไม่ทนร้อน ก็เลยไม่ควรมาใส่ในอาหาร/เครื่องดื่มที่ปรุงด้วยความร้อน

แบรนด์ที่ขาย : Equal รุ่น Classic, Lite Sugar ของ Ajinomoto

 

ซูคราโลส (Sucralose)

เป็นสารสังเคราะห์ หวานกว่าน้ำตาลทราย 600-650%

0% Calorie | 0% GI Index | ไม่ให้พลังงาน

ระดับ ADI 5 มก./กก./วัน

ใช้ในเครื่องดื่ม/ทำอาหาร/ทำขนมแบบร้อน-เย็นได้หมด ทนความร้อนได้สูง ใช้ในอาหารที่มีความเป็นกรดได้ด้วย

แบรนด์ที่ขาย : Equal รุ่น Gold, Kontrol, Pur Via, Green Sweet, Half Calorie Sugar ของ Lin

 

สารให้ความหวาน

 

ตัวอย่างโปรดักส์ใกล้ตัวที่ใช้น้ำตาลเทียม 

น้ำอัดลม 0% Calaorie

สารให้ความหวานที่ใช้: Aspartame, Acesulfame Potassium, Sucralose

ชาหญ้าหวาน อ้วยอันโอสถ Herbal One

สารให้ความหวานที่ใช้: น้ำตาลหญ้าหวาน (Steviol Glycosides)

เครื่องดื่มรังนก Brands สูตรไซลิทอล

สารให้ความหวานที่ใช้: Xylitol

หมากฝรั่ง Dentyne Splash

สารให้ความหวานที่ใช้: Isomalt, Maltitol, Sorbitol, Aspartame, Acesulfame Potassium, Sucralose

ซอสพริก Rosa สูตรไม่มีน้ำตาล

สารให้ความหวานที่ใช้: Sucralose, น้ำตาลหญ้าหวาน


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความคิดเห็น


น่าสนใจค่ะ
02/06/2023 16:22
น้ำตาลจากหญ้าหวานน่าสนใจมากเลยค่ะไม่มีแคลด้วยดีเลย
09/02/2023 13:30
ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ
10/12/2022 23:41
น้ำตาลนางมันร้ายยยยย
14/09/2022 22:31
บทความดีมากค่ะ
14/09/2022 09:04