4 ฮอร์โมนกับความอ้วน อยากลดน้ำหนักให้ยั่งยืนต้องเข้าใจเรื่องฮอร์โมน

โดย Admin_ChoiceChecker01 11/05/2023

 

ไม่ใช่ว่าจะมา bully เรื่องรูปร่างหรืออะไร สมัยนี้แล้วเชื่อว่าหลายคนคงเปิดใจให้กับนิยามคำว่า ความสวย ไม่จำเป็นจะต้องผอมเพรียว หุ่นดี เสมอไป คนอ้วน คนท้วมก็สามารถสวยได้ในรูปแบบที่ตนพึงพอใจ แต่…ถ้ากังวลเรื่องสุขภาพ อยากมีสุขภาพดีระยะยาว ไม่ต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บ มีชีวิตอยู่กับคนที่เรารักไปนานๆ ไม่เป็นภาระให้เขาต้องลำบากใจ การดูแลควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพดี

 

เลือกทางลัดไปอ่านหัวข้อที่สนใจกันเลย

 


 

ฮอร์โมน” หลายคนได้ยินบ่อยมาก ไม่ว่าเรื่องอะไรก็เกี่ยวกับฮอร์โมนทั้งนั้น ฮอร์โมนในร่างกายมีมากมายหลายชนิด แต่วันนี้ choicechecker จะนำเสนอเฉพาะฮอร์โมนที่สำคัญ  4 ชนิดเกี่ยวกับ Hunger (ความหิว),  Reward (ความรู้สึกได้รับรางวัล), stress (ความเครียด) ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่นำไปสู่ภาวะอ้วน ถ้าฮอร์โมนเกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านี้ทำงานผิดปกติก็จะทำให้เกิดภาวะอ้วน Choicechecker แนะนำว่าถ้าต้องการลดน้ำหนักอย่างยั่งยืน ควรเข้าใจเรื่องฮอร์โมนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้รองรับกับการทำงานของฮอร์โมนจะทำให้เราควบคุมน้ำหนักได้ง่ายและมีประสิทธิภาพขึ้น

 

ลดน้ำหนัก, ลดความอ้วน, ฮอร์โมน, น้ำหนัก, คุมน้ำหนัก

 

5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับฮอร์โมนเลปติน (Leptin)

1. ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) หรือฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่ม ร่างกายหลั่งออกมาเพื่อคงสมดุลระหว่างปริมาณอาหารที่ทานเข้าไป กับการกักเก็บเพื่อนำไปใช้กับร่างกาย

 

2. ฮอร์โมนเลปตินสร้างมาจากเซลล์ไขมันที่เรียกว่า adipose tissue แล้วถูกส่งเข้าสู่กระแสเลือด และปริมาณฮอร์โมนเลปตินแปรผันกับจำนวนเซลล์ไขมัน นั่นหมายความว่ายิ่งคนอ้วนมากปริมาณฮอร์โมนนี้ก็มาก แต่การที่มีมากจนเกินไปจะเกิดภาวะดื้อเลปติน เลยทำให้การตอบสนองน้อยลง คนอ้วนเลยจะรู้สึกอิ่มยาก

 

3.การทำงานของฮอร์โมนเลปตินเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับอาหารที่เพียงพอแล้ว ฮอร์โมนเลปตินส่งสัญญาณบอกสมองส่วนไฺฮโปทาลามัสว่า “ฉันไม่หิวแล้ว มีอาหารมากพอที่จะสร้างพลังงานแล้ว จงอิ่มได้แล้ว” หลังจากนั้นก็จะค่อยๆรู้สึกอิ่มและหยุดทานอาหาร

 

4.การขาดแคลนการผลิตฮอร์โมนเลปตินทำให้เกิดสภาวะอ้วน ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมากจากการความผิดปกติของยีนที่สร้างฮอร์โมน หรือเป็นมะเร็งสมอง หากเกิดสภาวะแบบนี้ต้องได้รับการรักษา แต่ในปัจจุบันพบว่า 1.5 พันล้านคนทั่วโลกประสบปัญหาโรคอ้วนจากภาวะดื้อเลปติน ซึ่งเกิดจากการที่เลปตินหลั่งออกมามากเกินไป (ไม่ใช่เพราะขาดแคลน)

ภาวะดื้อเลปติน คือ ภาวะที่ฮอร์โมนเลปตินหลั่งออกมาเยอะแต่สมองไม่สามารถรับรู้ได้ว่ามีฮอร์โมนเลปตินหลั่งออกมาเลยกินเท่าไรก็ไม่รู้สึกอิ่มเสียที” สังเกตง่ายๆว่า “พยายามลดน้ำหนักเท่าไร ก็ลดไม่ได้เสียที”นั่นอาจเป็นสัญญาณบอกว่าคุณกำลังเผชิญภาวะดื้อเลปติน
 

5.ภาวะดื้อเลปติน มักมาคู่กับภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งจะทำให้ร่างกายอยากทานอาหารประเภทแป้ง คาร์โบไฮเดรต ไขมันเพิ่มขึ้น ทั้งๆที่ร่างกายไม่ต้องการแล้ว ยิ่งทำให้อ้วนมากกว่าเดิม

 

 

5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin)

1. ฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) หรือฮอร์โมนลดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานให้กับร่างกาย

 

2.ฮอร์โมนอินซูลิน หลั่งออกมาจากเบต้าเซลล์ในตับอ่อน

 

3.การทำงานของอินซูลิน: หลังจากที่ทานอาหารเข้าไป ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น ฮอร์โมนอินซูลินก็จะถูกหลั่งเพื่อมาลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ โดยเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสแล้วนำไปเก็บสะสมไว้ในเซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ตับ และเซลล์ไขมัน (adipose tissue)

แต่สำหรับคนที่มีภาวะอ้วน จะมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน กล่าวคือมีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินมากผิดปกติแต่น้ำตาลไม่สามารถถูกกับเก็บเข้าไปสะสมในเซลล์ได้ ระดับน้ำตาลในเลือดเลยเริ่มสูง อีกทั้งภาวะดื้ออินซูลินยังชักนำให้เกิดภาวะดื้อเลปตินอีกด้วย ทำให้กินเท่าไรก็ไม่รู้สึกอิ่มเสียที แต่ยังทำให้รู้สึกหิวและอยากกินอาหารพวกแป้ง คาร์โบไฮเดรต ไขมันเพิ่มอีกด้วย
 

4.ภาวะดื้ออินซูลิน มักมาคู่กับภาวะดื้อเลปติน ซึ่งจะทำให้ร่างกายอยากทานอาหารประเภทแป้ง คาร์โบไฮเดรต ไขมันเพิ่มขึ้น ทั้งๆที่ร่างกายไม่ต้องการแล้ว ยิ่งทำให้อ้วนมากกว่าเดิม

 

5.ภาวะดื้ออินซูลิน* ไม่ใช่แค่เป็นสาเหตุของความอ้วนอย่างเดียว ภาวะดื้ออินซูลินยังชักนำให้เกิดโรคเมตาบอลิก ซินโดรม ได้แก่ ความดันในเลือดสูง ไขมันสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจกับหลอดเลือด

 

หมายเหตุ จริงๆแล้วภาวะดื้ออินซูลิน สามารถเกิดได้กับคนผอมได้เช่นกัน ดังนั้นไม่จำเป็นว่าคนอ้วนเท่านั้นที่เสี่ยงเป็นโรคเมตาบอลิก ซินโดรม

 

ลดน้ำหนัก, ลดความอ้วน, ฮอร์โมน, น้ำหนัก, คุมน้ำหนัก

 

5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับฮอร์โมนคอร์ติซอล

1.ฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนความเครียด เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาเมื่อร่างกายต้องตอบสนองกับความเครียดรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ร่างกายเอาตัวรอดผ่านเหตุการณ์เหล่านั้นไปได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเจอสัตว์ร้ายร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลในช่วงสั้นๆ กระตุ้นให้ความดันสูง น้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายตื่นตัวหนีเอาตัวรอดไปได้ แต่ถ้ามีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลอย่างต่อเนื่องยาวนาน นั่นจะทำให้เกิดผลร้ายเสียมาก

 

2. ฮอร์โมนคอร์ติซอลสร้างมาจากต่อมหมวกไต อยู่บนไตทั้งสองข้าง ร่างกายขาดฮอร์โมนนี้ไม่ได้เลย อาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ต่างกับฮอร์โมนชนิดอื่น แม้ขาดก็อาจจะมีชีวิตอยู่ได้ แต่แค่มีความผิดปกติ

 

3.ความเครียดต่อเนื่องทำให้อ้วนโดยผ่าน 2 กระบวนการ ได้แก่ยิ่งเครียดมากเท่าไร จะทำให้อยากกินอาหารแป้ง ไขมันและน้ำตาลมากยิ่งขึ้น และความเครียดยังทำให้ไขมันถูกสะสมตามอวัยวะต่างๆที่เราไม่ต้องการเช่นหลอดเลือด ตับ หน้าท้อง

 

4.การที่เราเครียดต่อเนื่อง ฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้นอนไม่หลับ ร่างกายเกิดการอักเสบและกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเกรลิน ฮอร์โมนอีกหนึ่งชนิดที่ทำให้ร่างกายรู้สึกหิว

 

5.ฮอร์โมนคอร์ติซอลยังกระตุ้นให้ฮอร์โมนอินซูลินสูงอีกด้วย ยิ่งเพิ่มโอกาสการเป็นโรคเมตาบอลิกซินโดรม

 

 

5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับฮอร์โมนโดพามีน

1.ฮอร์โมนโดพามีน หรือฮอร์โมนแห่งความสุข ฮอร์โมนแห่งการรู้สึกได้รับรางวัล เป็นฮอร์โมนที่หลั่งแล้วทำให้รู้สึกดีใจ ปลาบปลื้ม มีความสุข ได้รางวัล

 

2.ฮอร์โมนโดพามีนหลั่งออกมาได้จากสมองส่วนที่เรียกว่า nucleus accumbens และเมื่อเข้าไปจับกับฐานจับเฉพาะตัว เมื่อฮอร์โมนจับกับฐานจับเรียบร้อยแล้วเสมือนแม่กุญแจกับลูกกุญแจก็จะทำให้ร่างกายเรารู้สึกมีความสุข ปลาบปลื้ม ได้รางวัล

 

3.ยิ่งทานอาหารเยอะ ยิ่งรู้สึกมีความสุข ยิ่งได้กินอาหารพวกแป้ง น้ำตาล ไขมันสูงๆ ก็ยิ่งรู้สึกมีความสุข เป็นเพราะฮอร์โมนโดพามีนหลั่งมากยิ่งขึ้น

 

4.ฮอร์โมนเลปติน จะเป็นฮอร์โมนที่ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนโดพามีนเมื่อได้รับอาหารที่เพียงพอ พร้อมทั้งฮอร์โมนอินซูลินก็จะช่วยขจัดโดพามีนที่หลงเหลืออยู่ ร่างกายเราเลยรู้สึกอิ่มและความรู้สึกที่มีความสุขจากการทานค่อยๆจางลง แต่คนที่มีภาวะอ้วนทำให้เกิดภาวะดื้อต่อฮอร์โมนเลปติน เลปตินไม่สามารถส่งสัญญาณออกไปยับยั้งการฮอร์โมนโดพามีนได้ และฮอร์โมนอินซูลินก็ไม่สามารถขจัดโดพามีนที่หลงเหลือได้เลยทำให้ร่างกายไม่รู้สึกอิ่มและยังคงมีความสุขกับการทานต่อไป

 

5.ความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนโดพามีนคือต้นตอของการเสพติดแอลกอฮอล์ นิโคติน มอร์ฟีน รวมถึงการเสพติดจากการได้ทานอาหารด้วย เลยไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมคนที่ชอบของหวาน ชอบอาหารฟาสต์ฟู๊ดถึงเลิกไม่ได้เสียที เพราะเวลาจะเลิกทีไรยากพอๆกับการเลิกบุหรี่หรือสารเสพติดอื่นๆเลยทีเดียว

 

และฮอร์โมนอีกหนึ่งตัวที่ไม่ได้ทำให้อ้วน แต่เกี่ยวข้องกับความหิว นั่นคือ ฮอร์โมนเกรติน

1.ฮอร์โมนเกรลิน หรือฮอร์โมนที่ทำให้หิว ทำงานตรงข้ามกับฮอร์โมนเลปติน ทำหน้าที่ควบคุมความหิว ควบคุมการเผาผลาญพลังงาน และการควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือในร่างกาย

 

2.ฮอร์โมนเกรลินหลั่งออกมาจากสมอง ทางเดินอาหาร และตับอ่อน

 

3.เมื่อความหิวเพิ่มขึ้น ระดับของเกรลินในกระแสเลือดจะสูงขึ้นและกระตุ้นสมองให้มีความอยากอาหาร พอที่ร่างกายได้รับอาหารเพียงพอแล้ว ระดับเกรลินจะลดลง ทำให้ความหิวลดลงด้วย

 

4.ฮอร์โมนเกรลิน พบมากในคนผอม มากกว่าคนอ้วน แต่คนอ้วนจะตอบสนองต่อฮอร์โมนเกรลินไวกว่าคนผอม

 

ลดน้ำหนัก, ลดความอ้วน, ฮอร์โมน, น้ำหนัก, คุมน้ำหนัก

 

5 เคล็ดลับทานยังไงให้ฮอร์โมนทำงานปกติ

1.ไม่ทานจนอิ่มเกินไป หรือทานบุฟเฟ่ต์บ่อยเกินไป อาจจะขัดใจสายบุฟเฟ่ต์นิดหน่อย แต่เพื่อสุขภาพดีในระยะยาวแนะนำให้ค่อยๆปรับพฤติกรรมไป

 

2.หลังทานอาหารเสร็จแล้ว ไม่ควรนั่งๆนอนๆ ไม่เช่นนั้นจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ลดลง เสี่ยงต่อภาวะดื้ออินซูลิน

 

3.ไม่ทานอาหารฟาสต์ฟูด ของหวาน เครื่องดื่มผสมน้ำตาล ของทอดบ่อยครั้ง เพราะจะทำให้เกิดภาวะเสพติด

 

4.ไม่ควรกินจุกจิกระหว่างมื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงตลอดเวลา

 

5.เน้นการทานผัก ผลไม้ ถั่ว หรืออาหารที่มีกากใยสูง ป้องกันการไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงเร็วเกินไป

 

นอกจากนั้นการนอนพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงภาวะเครียดต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน และออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นเคล็ดลับที่ทำให้ระฮอร์โมนต่างๆทำงานได้ปกติอีกด้วย

 

👩‍⚕️คอนเทนต์นี้จัดทำโดยเภสัชกรวิชาชีพประจำ ChoiceChecker👩‍⚕️


Reference


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความคิดเห็น


ข้อมูลดีและมีประโยชน์มากค่ะ
20/11/2023 22:19
ความอ้วนมาง่ายลงยากมากเลยครับ
20/06/2023 19:11
เราอ้วนเพราะเครียดนี่เองงงงง
18/06/2023 14:36
ครบถ้วนได้ความรู้ค่ะ
29/05/2023 23:07
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ จะลองนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันค่ะ
22/05/2023 23:06
อายุเยอะอ้วนง่ายกินอะไรก็ลงพุง
21/05/2023 07:03
ต้องงด กินจุบจิบ นํ้าหวาน ขนมจริงจังแล้วค่ะ
17/05/2023 06:02
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ
16/05/2023 18:21
ถ้าลดน้ำตาลได้ คือการเริ่มต้นที่ดีของทั้งเรื่อง นน และผิวเลยค่ะ
16/05/2023 14:03
ถ้าทำได้ทั้ง 5 ข้อรับรองหุ่นดีผอมแน่นอนเลยคะ
16/05/2023 13:24
ข้อ 3 ต้องห้ามใจหนักมากเลยค่ะ TwT
15/05/2023 20:41
ขอบคุณสำหรับข้อมูล และสาระดีๆนะคะ
13/05/2023 17:26
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ
12/05/2023 17:23