Checklist สิวที่เป็น+อัพเดทยาทารักษาสิวหน้าใสรับปีใหม่ 2021!

โดย เภสัชกรประจำ choicechecker 29/12/2020

 

หลากหลายคำถามเรื่องสิวในปีนี้ วันนี้ ChoiceChecker จะพาไปหาคำตอบกันค่ะ พร้อมอัพเดตทุกเรื่องเกี่ยวกับสิว #ยาสิวใช้ผิดชีวิตเปลี่ยน #ยาสิวใช้ไม่ดีไม่หน้าพังก็ดื้อยา

  • update อยาก ‘หน้าใส’ รับปีใหม่ มีอะไรต้องรู้บ้าง?
  • แนวทางการใช้ยาทารักษาสิวฉบับอัพเดท สำหรับสิวทุกชนิดตั้งแต่ระดับรุนแรงน้อย-ปานกลาง 
  • วิธีจัดการ สิวหน้ากาก (Maskne) #สิวฝุ่นpm2.5 ปัญหาสิวที่มาแรงที่สุดในยุคนี้!
  • ใช้ยาตัวไหนแทนRetin-A ได้บ้าง? เลิกขายไปแล้ว แต่มี dupe เพียบไม่ต้องกังวล
  • ยา Clindamycin ทาเดี่ยวๆ ทำให้ #เชื้อสิวดื้อยา ได้นะ อย่าหาทำ!
  • ยาทานวัตกรรมใหม่เพื่อ #สิวฮอร์โมน โดยเฉพาะกำลังมา เตรียมตัวบอกลายาคุมได้เลย~

 

บทความต่อไปนี้ จัดทำและควบคุมการผลิตโดยเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเรื่องยาและเครื่องสำอาง

 

 แนวทางหรือไกด์ไลน์การเลือกยาทารักษาสิวตามอาการ 

เราต้องเช็คดตัวเองตาม step ต่อไปนี้ ก็จำทำให้ทราบแนวทางการใช้ยาทารักษาสิวที่ถูกต้อง

1. ชนิดสิวที่เป็นอยู่ 

2. ระดับความรุนแรง 

3. รู้จักชนิดของยาทารักษาสิว 

 


 

Step 1 เช็คชนิดสิวของคุณก่อน

สิวอุดตัน สิวที่ยังไม่ติดเชื้อ

- สิวอุดตันหัวปิด/สิวหัวขาว (Closed/White Comedone): เป็นจุดเล็กๆสีขาว เล็กมากจนสังเกตยากก็มี 

- สิวอุดตันหัวเปิด/สิวหัวดำ (Opened/Black Comedone): คล้ายกับสิวหัวขาว ต่างกันตรงที่มีสีน้ำตาลเข้ม-สีดำ มองเห็นชัดกว่า

สิวอักเสบ = สิวอุดตันที่มีการติดเชื้อ 

- สิวอักเสบติดเชื้อปกติ (Papulopustular Acne): คือสิวอุดตันที่อักเสบ เป็นตุ่มแดง มีหนองอยู่ข้างใน

- สิวหัวช้าง หรือสิวซีสต์ (Cystic Acne): เหมือนสิวอักเสบติดเชื้อปกติแต่อัพเลเวลให้ใหญ่ขึ้นอีก จับโดนจะรู้สึกเจ็บ ชอบเกิดที่เดิมซ้ำๆบ่อยๆ สิวแบบนี้ใช้ยาทาไม่ค่อยได้ผล ยิ่งอักเสบมานานยิ่งมีโอกาสเป็นหลุมสิวใหญ่และลึกขึ้น ต้องรักษาด้วยการลดการอักเสบและควบคุมฮอร์โมน 

- สิวไม่มีหัวปกติ: เป็นตุ่มนูนขึ้นมา ไม่มีสี ไม่มีจุดดำตรงกลาง ขนาดคงที่ไม่ขยายใหญ่ขึ้น แต่ผ่านไป 2-3 วันจะเริ่มมีหัวสิวโผล่ขึ้นมา สิวแบบนี้สามารถกลายร่างไปเป็นสิวอักเสบติดเชื้อ-สิวหัวช้างได้

 

สิว สิวอุดตัน

 

- สิวเสี้ยน: เส้นขนเล็กๆหลายเส้นผสมกับเซลล์ผิวเก่าอุดตันรวมกัน เจอได้บ่อยตรงจมูกและคาง (ถึงหน้าตาจะคล้ายๆแต่มันต่างจากสิวหัวดำที่เป็นการอุดตันจากไขมัน)

- สิวผด: เม็ดเล็กเป็นจุดแดงๆ คล้ายผื่นแพ้ทั่วไป อาจจะมีตุ่มน้ำใสๆ ชอบขึ้นตรงส่วนที่โดนแดดบ่อยและมีเหงื่อออกเยอะๆ เช่น หน้าผาก ข้างแก้ม ถ้ารู้สึกคันด้วยอาจจะเกิดจากเชื้อรา/ยีสต์ต้องหาหมอนะคะ

- สิวฮอร์โมน: เหมือนสิวอักเสบติดเชื้อทั่วไป อยู่ตามจุดที่มีต่อมไขมันเยอะๆ เช่น จมูก รอบปาก คาง สิวแบบนี้สำหรับผู้หญิงจะเจอกันทุกเดือนก่อนเมนส์มา 7 วัน กับผู้ชาย/ผู้หญิงที่ฮอร์โมนเพศเยอะก็เป็นได้เหมือนกัน มีฮอร์โมนเป็นตัวกระตุ้นให้ผิวผลิตน้ำมันออกมาเยอะเกินไป ถึงได้เรียกว่าสิวฮอร์โมน

- สิวฝุ่น PM2.5: อัพเดทอาการสิวที่มาพร้อมสภาพอากาศแย่ๆ ฝุ่นเล็กจิ๋วขนาด 2.5 ไมครอนอุดรูขุมขนจนกลายเป็นสิวอักเสบ

- สิวหน้ากาก: สิวแบบนี้ระบาดไม่แพ้ไวรัสจนศัพท์ใหม่ว่า Maskne (Mask+Acne) เป็นได้ตั้งแต่สิวผด-สิวอักเสบเลยค่ะ เกิดจากเกราะป้องกันผิวทำงานผิดปกติจนอักเสบ จากความอับชื้น&การเสียดสีบ่อยๆ

- สิวหน้าแดง (Acne Rosacea) เป็นสิวอักเสบเรื้อรัง หน้าแดงตลอด เป็นแล้วไม่หาย นี่คืออาการของโรคผิวหนังชนิดนึงค่ะ ควรได้รับการปรึกษาจากคุณหมอนะ

 

สิว สิวอักเสบ

 

Step 2 ระดับความรุนแรงของสิว  

แบ่งเป็น 3 เลเวล ตามเกณฑ์ของสมาคมแพทย์ผิวหนังไทย

ระดับเล็กน้อย สิวที่ขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นสิวอุดตันทั่วไป / ถ้ามีสิวอักเสบจะนับที่ไม่เกิน 5 จุด

ระดับปานกลาง มีสิวอักเสบ ตุ่มหนอง เม็ดเล็ก 5-10 จุด ถ้าเม็ดใหญ่ก็นับที่ไม่เกิน 5 จุด

ระดับรุนแรง มีสิวอักเสบเม็ดเล็กเยอะเกิน 10+ จุด / มีสิวอักเสบเม็ดใหญ่หรือสิวซีสต์เกิน 5+ จุด เป็นสิวที่อักเสบมานาน กลับมาเป็นซ้ำๆ หรือมีหนองไหล

*** ถ้าอาการสิวของคุณเกินกว่าระดับปานกลาง (มีสิวอักเสบเกิน 15 เม็ดขึ้นไป) เราแนะนำให้ไปปรึกษาคุณหมอผิวหนังหรือเภสัชกรเท่านั้นค่ะ!

 

สิว

 

Step 3 ทำความรู้จักชนิดของยาทารักษาสิว 

กลุ่มเรตินอยด์ (วิตามินเอ) รูปฟอร์มที่นิยมใช้: Tretinoin / Adapalene

ออกฤทธิ์: ละลายสิวอุดตัน ลดการอักเสบ ปรับการแบ่งเซลล์ผิวให้ระเบียบ ผลัดเซลล์ผิว ทำให้สิวอุดตันหลุดออกมาง่ายขึ้น แบบไม่ทำลายเกราะป้องกันผิว

Tretinoin รู้จักกันดีในชื่อ Retin-A แต่เค้าเลิกผลิตไปแล้ว ยี่ห้ออื่นที่เหมือนกันมีอีกเพียบตามนี้เลย 

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์: Retacnyl® Cream, Vitara® Acnetin-A Cream, Tintin Cream, DermaKlares Tretinoin-A Soft Gel, Stieva-A™ Cream

- Adapalene เป็นรูปแบบที่พัฒนามาให้ลดความรุนแรงลงมาค่ะ ผิวบอบบางใช้ได้

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์: Differin® Gel

**สำหรับยาทารักษาสิวกลุ่มนี้ ไม่แนะนำให้ใช้เด็ดขาดกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร

 

กลุ่ม Benzoyl Peroxide

ออกฤทธิ์: ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อสิวที่ชื่อ P.Acne ลดการอักเสบ ผลัดเซลล์ผิวและลดการอุดตันได้นิดๆ แต่ก็ทำลายเกราะป้องกันผิว

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์: Benzac AC® Gel, Aczee Gel Cream, Enzoxid® Anti Acne Gel, Brevoxyl® Cream, PanOxyl Acnegel, Vitara® AkneDerm-BP

 

กลุ่ม Azelaic Acid 

ออกฤทธิ์: ยับยั้งเชื้อ P.Acne ลดการอุดตัน ลดการผลิตเคราติน(Keratin)ตัวช่วยทำให้เชื้อ P.Acne เจริญเติบโตได้ดี ลดการอักเสบ ผลัดเซลล์ผิว และลดเม็ดสีบนสิวทำให้รอยสิวดูจางลง

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์: Skinoren® Cream (มี Azelaic Acid 20%)

 

กลุ่มยาปฏิชีวนะ รูปฟอร์มที่นิยมใช้: Erythromycin / Clindamycin / Metronidazole

ออกฤทธิ์: ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ ทำงานยับยั้งเชื้อ P.Acne ตัวก่อสิว และช่วยลดการอักเสบ

- Erythromycin

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์: Eryacne® Gel บริษัท Galderma (ฝรั่งเศส)

- Clindamycin

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์: Clinda M Lotion, Clindalin*Gel, Vitara® Clinda Gel

- Metronidazole

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์: Metronidazole Robaz® Gel

 

กลุ่ม Sulfur (กำมะถัน)

ออกฤทธิ์: ยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรีย ลดการผลิตเคราติน(Keratin) และช่วยผลัดเซลล์ผิว

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์: Der La Cruz Sulfur Ointment ขี้ผึ้งแต้มสิว (มี Sulfur 10%)

 

กลุ่ม Clascoterone

ออกฤทธิ์: ลดการผลิตความมันส่วนเกินจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเพศชาย DHT กลไกนี้มีอยู่ในยา Isotretinoin และ Spironolactone(ยาคุมกำเนิด) ที่เป็นยากินรักษาสิวอยู่แล้ว แต่ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในวงการยารูปแบบทาเลยค่ะ เป็นทางเลือกในการรักษาสิวฮอร์โมนแบบไม่ต้องทานยา

ผลิตภัณฑ์: Winlevi® Clascoterone Cream 1% คาดว่าจะเริ่มวางขายต้นปี 2021 ในสหรัฐอเมริกา

 

กลุ่มยาลูกครึ่ง 

- Epiduo® Gel บริษัท Galderma (ฝรั่งเศส) ผสมระหว่าง Benzoyl Peroxide 2.5% + Adapalene 0.1% (เหมือนทา Benzac+Differin ในครั้งเดียว) 

- Duac® Gel บริษัท Stiefel (อังกฤษ) ผสมระหว่าง Benzoyl Peroxide 5% + Clindamycin 1%

 

สิวแบบนี้...ใช้ยาอะไรจัดการ?

- สิวอุดตันหัวปิด/สิวหัวขาว: ใช้ Retinoids ช่วยลดการอุดตัน +เพิ่ม Benzyl Peroxide ในระดับปานกลาง

- สิวอุดตันหัวเปิด/สิวหัวดำ: รักษาวิธีเดียวกันกับสิวหัวขาว +เสริมด้วยผลิตภัณฑ์ที่มี Salicylic Acid ด้วยได้

- สิวอักเสบติดเชื้อปกติ: ใช้ยา Benzoyl Peroxide หรือใช้ยา Azelaic Acid เหมาะกับอาการผิดปกติหลังการอักเสบของสิวที่รุนแรงน้อย (ระคายเคืองผิวต่ำ แต่จะเห็นผลค่อนข้างช้า) แต่ถ้ารุนแรงปานกลางแนะนำว่าบวกยาทาปฏิชีวนะ เพิ่มไปด้วย

- สิวหัวช้าง/สิวซีสต์: สิวแบบนี้ใช้ยาทาไม่ค่อยได้ผลค่ะ ยิ่งอักเสบมานานยิ่งมีโอกาสทิ้งหลุมสิวลึกๆไว้ ต้องรักษาด้วยการควบคุมฮอร์โมนและลดการอักเสบ แนะนำวิธีฉีดสเตียรอยด์ หรือทานยารักษาสิวได้ผลดีกว่า

- สิวไม่มีหัว: ใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับ Benzoyl Peroxide

- สิวเสี้ยน: ใช้ Retinoids หรือ Azelaic Acid +เสริมด้วยผลิตภัณฑ์ที่มี Salicylic Acid จะได้ผลดี

- สิวผด: ที่จริงหายได้เองใน 2-3 วันถ้าทำความสะอาดและให้ความชุ่มชื้นดีพอ สามารถใช้ Retinoids เพื่อช่วยให้สิวแห้งและผลัดตัวออกไปเร็วขึ้น

- สิวฮอร์โมน: ใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับ Benzoyl Peroxide และถ้ายา Winlevi® หาซื้อได้แล้วก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในการรักษาสิวฮอร์โมนโดยตรงเลยค่ะ

- สิวฝุ่น PM2.5: ใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับ Benzoyl Peroxide +เพิ่ม Retinoids ในระดับปานกลาง

- สิวหน้ากาก (Maskne): ใช้ Benzoyl Peroxide+Adapalene และ/หรือยาปฏิชีวนะร่วมด้วย แต่ควรลดระยะเวลาในการทาลง สำหรับผิวใต้หน้ากากที่ค่อนข้างอ่อนแอมาก 

- สิวหน้าแดง (Acne Rosacea): เบื้องต้นใช้ Skinoren หรือ Metronidazole Robaz แต่นี่เป็นโรคผิวหนังแบบนึงยังไงก็แนะนำให้ไปพบคุณหมอผิวหนังนะคะ

*ไกด์ไลน์หรือแนวทางการรักษานี้สำหรับสิวรุนแรงระดับเล็กน้อย-ปานกลางช่วงต้นๆ เท่านั้น

 

ยาแต้มสิว

 

สิวประเภทอื่นๆเพิ่มเติมอีก

ยาแต้มสิว

 

สิวประเภทอื่นๆเพิ่มเติมอีก

ยาแต้มสิว

หมายเหตุ สิวฝุ่นกับสิวหน้ากากมีลักษณะคล้ายๆ กัน ต่างกันแค่บริเวณที่ขึ้น สิวฝุ่นมักขึ้นทั่วหน้าแต่สิวหน้ากากขึ้นบริเวณคางกับแก้ม แนวทางการรักษาเหมือนกัน สิวฝุ่นก็สามารถใช้เบนแซคคู่กับดิฟฟารีนได้เช่นกัน 

 

สิวประเภทอื่นๆเพิ่มเติมอีก

ยาแต้มสิว

หมายเหตุ สิวฝุ่นกับสิวหน้ากากมีลักษณะคล้ายๆ กัน ต่างกันแค่บริเวณที่ขึ้น สิวฝุ่นมักขึ้นทั่วหน้าแต่สิวหน้ากากขึ้นบริเวณคางกับแก้ม แนวทางการรักษาเหมือนกัน สิวฝุ่นก็สามารถใช้เบนแซคคู่กับดิฟฟารีนได้เช่นกัน 

 

วิธีการใช้ที่ถูกต้อง ใช้ผิดวิธีสิวไม่หาย+แถมหน้าพังได้นะ สำคัญมากต้องอ่านค่ะ!

วิธ๊การใช้ยาแต้มสิว

 

- สำหรับยากลุ่ม Retinoids (วิตามิน)หรือ Benzoyl Peroxide ควรเลือกใช้จากความเข้มข้นต่ำที่สุดก่อน

- การใช้ Retinoids และ Benzoyl Peroxide ร่วมกัน ต้องทาห่างกันอย่างน้อย 10 นาทีขึ้นไป เริ่มจากทา Benzoyl Peroxide ก่อน หลังจากนั้น 10+ นาที ค่อยทา Retinoids แต่ถ้ารีบหรือกลัวลืมก็ใช้ Epiduo® Gel แทนค่ะ ได้ทั้ง 2 ตัวยาในครั้งเดียว แต่ก็จะแพงกว่ากันนะ

- ห้ามใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น Clidamycin เดี่ยวๆเด็ดขาด เพราะเชื้อสิวมันจะพัฒนาตัวเองจนดื้อยาได้

- ต้องใช้มอยเจอร์ไรเซอร์และครีมกันแดดควบคู่ไปกับการทายารักษาสิวอย่างสม่ำเสมอ

 

นี่เป็นคำแนะนำเบื้องต้น เพื่อนๆควรปรึกษาคุณหมอผิวหนังหรือคุณเภสัชกรทุกครั้งที่จะใช้ยาทารักษาสิวนะคะ ขึ้นชื่อว่า ‘ยา’ ยังไงก็มีผลข้างเคียงทำให้ผิวระคายเคือง ไวต่อแสงมากขึ้นได้ เชื่อคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญดีที่สุดน้า ด้วยรักและขอให้ทุกคนหน้าใสรับปีใหม่ 2021 ค่ะ ว่า ครั้งหน้าถ้าเป็นอีก ยาตัวเดิมก็ไม่สามารถรักษาหายได้แล้ว
 

 

👩‍⚕️คอนเทนต์นี้จัดทำโดยเภสัชกรวิชาชีพประจำ ChoiceChecker👩‍⚕️


 

Reference


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความคิดเห็น


ของมันต้องมี มีไว้ละอุ่นใจ
11/11/2023 04:09
ดีมากเลยค่ะ
24/07/2023 00:22
น่าใช้มากค่ะ
08/07/2023 22:53
เซฟข้อมูลเลยค่ะ
09/04/2023 21:57
ต้องจัดแล้วค่ะ
27/01/2023 11:24
จดๆตามเลยค่า
27/01/2023 08:12
ข้อมูลดีมากๆเลยค่ะ ทำให้รู้ว่าสิวมีแบบไหนบ้างจะได้รักษาถูก
26/01/2023 21:35
เซฟไว้เลยค่ะ
08/07/2022 08:22
เด็ดๆทั้งนั้นเลยย
21/06/2022 11:38
ดีงามมมมมม
08/06/2022 06:28
ใช้อยู่หลายตัวเลยจ้า
07/06/2022 02:13
ดีงามมากค่ะ
07/06/2022 11:09
น่าสนใจค่ะ ตอนนี้ใช้นานาหลอดสีแดง ก็อใช้ดีมากๆเลยค่ะ สิวอักเสบยุบลงไม่ปวด
07/06/2022 11:09