AHA Vs BHA ต่างกันอย่างไร ปัญหาผิวแบบนี้ใช้อะไรดีกว่ากัน

โดย Admin_ChoiceChecker03 20/11/2023

ได้ยินชื่อบ่อยมากสำหรับสารเคมี AHA กับ BHA เพราะมีแต่คนพูดถึงว่าใช้แล้วสิวลด ใช้แล้วผิวกระจ่างใสขึ้น ใช้แล้วหน้าเนียนเป็นกอง แต่เคยสงสัยไหมว่าทั้ง 2 อย่างนี้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?  เมื่อไรที่ควรใช้ AHA? เมื่อไรที่ควรใช้ BHA? แต่ละอย่างมีจุดเด่นอย่างไร? ใช้แทนกันได้ไหม? เป็นคำถามที่เชื่อว่าหลายคนก็คงสงสัยและกำลังรอคำตอบที่เคลียร์ชัดๆอยู่  ดังนั้น Choicechecker จะมาสรุปให้คลียร์ขอสงสัยเหล่านี้ให้กระจ่าง เวลาซื้อสกินแคร์จะได้ไม่พลาด!

 

เลือกทางลัดไปอ่านหัวข้อที่สนใจเลย

 


 

AHA  (α-hydroxy acids)

AHA หรือชื่อเต็มๆ α-hydroxy acids เป็นกรดที่ได้มาจากผลไม้ หรือสัตว์ ตามธรรมชาติ

ตัวอย่าง AHA ได้แก่  mandelic acid, glycolic acid (ได้มาจากอ้อย) , lactic acid ,hydroxycaproic acid, hydroxycaprylic acid ,  malic acid , tartaric acid, citric acid เป็นต้น ส่วน AHA ที่เห็นเป็นที่นิยมใส่ในสกินแคร์กันคงหนีไม่พ้น mandelic acid, glycolic acid หรือ lactic acid  ลองพลิกขวดสกินแคร์ AHA จะเห็นว่ามักมีส่วนผสม 3 ตัวนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ก็ทั้งหมด

 

จุดเด่นของส่วนผสม AHA

  1. AHA ออกฤทธิ์กับผิวได้หลากหลาย ได้แก่ ต้านเชื้อแบคทีเรีย, ควบคุมการทำงานของต่อมไขมัน , ผลัดเซลล์ผิวชั้นบนสุด, ยับยั้งการอุดตันของรูขุมขน , กระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวใหม่, เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว

  2. AHA ออกฤทธิ์ทั้งผิวหนังชั้นหนังกำพร้า และหนังแท้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นที่ใช้ด้วย

  3. AHA สามารถจัดการปัญหาผิวได้ครอบคลุม ได้แก่ผลัดลอกเซลล์ผิวเสื่อมโทรม เติมความชุ่มชื้นฟื้นฟูผิวอ่อนแอ เพิ่มความยืดหยุ่น ลดเลือนริ้วรอย ลดเลือนฝ้ากระ จุดด่างดำ ลดการเกิดสิว

 

ตัวอย่างความเข้มข้นของ AHA แต่ละตัวในสกินแคร์

Glycolic acid  มักใส่มาที่ความเข้มข้น 10-15% ซึ่งเป็นความเข้มข้นที่เหมาะสมกับการผลัดเซลล์ผิว พร้อมกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวชั้นหนังกำพร้า ความเข้มข้นที่สูงกว่านี้จะทำให้  Glycolic acid สามารถผ่านเข้าสู่ผิวชั้นหนังแท้ได้มากขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิว และมีประสิทธิภาพในการลดเลือนริ้วรอยมากขึ้น หากแต่ว่าการใช้ Glycolic acid ที่ความเข้มข้นสูงๆ ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้มีความชำนาญไม่เช่นนั้นอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์เช่นผิวลอกแดง ระคายเคือง ผิวอ่อนแอเป็นต้น

 

Mandelic acid มักใส่มาที่ความเข้มข้น 5-10% ซึ่ง Mandelic acid จัดเป็น AHA ที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองน้อยสุด ความเข้มข้นประมาณนี้เป็นความเข้มข้นที่เหมาะสมในการกระตุ้นให้เกิดการผลัดเซลล์ผิว จัดการเชื้อแบคทีเรียสิวและยับยั้งการอุดตันของรูขุมขนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนในความเข้มข้นที่สูงกว่านี้ประสิทธิภาพของ Mandelic acid  ถูกใช้เพื่อรักษาสิว กลากเกลื้อนได้เช่นกัน แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

 

Lactic acid  มักใส่มาที่ความเข้มข้นไม่เกิน 10% ซึ่งเป็นความเข้มข้นในการผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกหรือเซลล์ที่ตายแล้ว สำหรับสกินแคร์ที่เป็นโพรดักสำหรับใช้ที่บ้าน รวมถึงเป็น AHA ที่ช่วยในการให้ความชุ่มชื้นกับผิว ฟื้นฟูผิวอ่อนแอ แพ้ง่ายระคายเคืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนในความเข้มข้นที่สูงขึ้น มีประสิทธิภาพในการผลัดลอกผิวได้มากขึ้น แต่ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

 

ตัวอย่างสกินแคร์ AHA ยอดนิยม

  • PIXI Glow tonic (ทางไปช้อป: ร้าน Sephora)

  • Drunk elephant T.L.C Framboos glycolic night serum (ทางไปช้อป: ร้าน Sephora)

  • Olay Luminious Niacinamide+AHA (ทางไปช้อป: คลิกที่นี่ )

  • COS Rx clarifying treatment toner (ทางไปช้อป: คลิกที่นี่ )

  • YOU AcnePlus AHA BHA PHA Daily Essence (ทางไปช้อป: คลิกที่นี่ )

 

AHA Vs BHA ต่างกันอย่างไร

 

BHA  (β-hydroxy acid)

BHA หรือชื่อเต็มๆ β-hydroxy acid เป็นสารประกอบอินทรีย์จากกลุ่มของกรดอะโรมาติกไฮดรอกซีคาร์บอกซิลิก สำหรับสาร BHA ได้แก่ Salicylic acid

 

จุดเด่นของส่วนผสม BHA

  1. BHA ลดค่า pH ของผิว ซึ่งเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา, ลดการผลิตน้ำมันบนใบหน้า, ช่วยกระตุ้นการผลัดและสร้างเซลล์ผิวใหม่

  2. BHA สามารถละลายในไขมันได้ เลยซึมผ่านเข้าสู่ชั้นผิวได้ล้ำลึก

  3. BHA มีสรรพคุณในการจัดการปัญหาสิวอักเสบและไม่อักเสบ ลดการอักเสบและช่วยจัดการความมันส่วนเกินบนใบหน้า

 

ตัวอย่างความเข้มข้นของ BHA

Salicylic acid มักใส่มาที่ความเข้มข้น 1-2% เป็นความเข้มข้นที่เหมาะสมในการจัดการสิว ทั้งสิวอุดตัน สิวไม่อุดตัน สิวอักเสบ รวมถึงลดการอักเสบของผิว ควบคุมความมันส่วนเกินของใบหน้า ซึ่งกรด BHA ทำให้ผิวระคายเคืองน้อยกว่าเหล่าบรรดากรด AHA

 

ตัวอย่างสกินแคร์ BHA ยอดนิยม

 

 

ความแตกต่างระหว่าง AHA กับ BHA

  • สารในกลุ่ม AHA ละลายในน้ำ ส่วน BHA ละลายในไขมัน แต่ทั้งสองสามารถซึมผ่านเข้าสู่ผิวได้อย่างล้ำลึก เพียงแค่กลไกลแตกต่างกัน

  • สารในกลุ่ม AHA อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองกับผิวมากกว่า BHA 

  • สารในกลุ่ม AHA เมื่อนำมาใส่ในสกินแคร์มักถูกใช้ในความเข้มข้นที่สูง (ความเข้มข้นไม่เกิน 15%) แต่ BHA มักใช้ที่ความเข้มข้น 1-2%

  • สารในกลุ่ม AHA มีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาผิวครอบคลุมกว่า BHA ทั้งริ้วรอย ฝ้ากระ จุดด่างดำ ปรับสีผิวไม่สม่ำเสมอ เลยจะเห็นสกินแคร์หลากหลายประเภทที่ใส่ AHA ส่วน BHA มักเน้นไปที่การรักษาปัญหาสิว และลดความมันบนใบหน้า มักจะใช้ BHA ในสกินแคร์ลดสิว หรือรอยสิว

 

AHA Vs BHA ต่างกันอย่างไร

 

👩‍⚕️คอนเทนต์นี้จัดทำโดยเภสัชกรวิชาชีพประจำ ChoiceChecker👩‍⚕️


Reference

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความคิดเห็น


อ่านแล้วกระจ่างเลยย
19/03/2024 15:48
ข้อมูลดีมากเลยค่ะชัดเจนมากเลย
18/12/2023 11:15
ข้อมูลดีมีประโยชน์จริงๆค่ะ
13/12/2023 19:20
ใช้ทั้ง AHA และ BHA เลยช่วยได้ดี
30/11/2023 21:35
ข้อมูลดีมีประโยชน์มากเลยคะ
29/11/2023 20:34
ข้อมูลดีมากค่ะ
23/11/2023 07:36
ข้อมูลดีมีประโยชน์จะนำไปใช้นะคะ
22/11/2023 11:23
ใช้อยู่ค่ะ สัปดาห์ละครั้ง
21/11/2023 18:10
ได้ความรู้ดีมากๆๆเลยค่ะ
21/11/2023 09:20
เพิ่งรู้เยนะคะเนี่ย
20/11/2023 20:19